วิสัยทัศน์
“เศรษฐกิจฐานรากมั่นคงและชุมชนพึ่งตนเองได้ ภายในปี ๒๕๖๔”
ยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชน
พันธกิจ
กรมการพัฒนาชุมชนได้มุ่งขับเคลื่อน ไปสู่การปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง ซึ่งได้ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ ทำให้มีความง่าย ท้าทาย และเป็นไปได้ในการปฏิบัติให้สอดคล้องกับทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. 2560 – 2564) ยุทธศาสตร์ของประเทศไทย นโยบายของรัฐบาล สถานการณ์สภาพแวดล้อมในปัจจุบัน เพื่อให้บุคลากรทุกคน ใช้เป็นกรอบทิศทางการปฏิบัติงาน โดยสามารถกำหนดรูปแบบ นำไปประยุกต์สู่การปฏิบัติงานได้ตามความเหมาะสม และกรมการพัฒนาชุมชนได้กำหนดให้ปี ๒๕๖๐ ขับเคลื่อนวาระกรมการพัฒนาชุมชน (Agenda) เพื่อมุ่งมั่นว่ากรมการพัฒนาชุมชน พร้อมขับเคลื่อน สัมมา ชีพชุมชนเข้มแข็งภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อก้าวไปสู่ “เศรษฐกิจครัวเรือนมีความมั่นคง ประชาชนใช้ชีวิตอยู่ในชุมชน อย่างมีความสุข” โดยมีพันธกิจดังนี้
๑. พัฒนาระบบและกลไกส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการเรียนรู้ของชุมชน
๒. ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการบริหารจัดการชุมชน
๓. ส่งเสริมการพัฒนาระบบกลไกและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของชุมชนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๔. พัฒนาสมรรถนะองค์กรในการทำงานเชิงบูรณาการ
๑. พัฒนาระบบและกลไกส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการเรียนรู้ของชุมชน
๒. ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการบริหารจัดการชุมชน
๓. ส่งเสริมการพัฒนาระบบกลไกและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของชุมชนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๔. พัฒนาสมรรถนะองค์กรในการทำงานเชิงบูรณาการ
ประเด็นยุทธศาสตร์ ดังนี้
๑.สร้างสรรค์ชุมชนให้พึ่งตนเองได้
๑.๑ สร้างและพัฒนาผู้นำสัมมาชีพ
๑.๒ พัฒนาเครื่องมือเสริมสร้างสัมมาชี่พชุมชน
๑.๓ ส่งเสริมชุมชนและภาคีร่วมพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก
๑.๔ พัฒนาการบริหารจัดการชุมชน
๑.๕ บริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาชุมชน
๒.ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากให้ขยายตัว
๒.๑ เพิ่มศักยภาพผู้ผลิต ผู้ประกอบการ
๒.๒ พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรม
๒.๓ ส่งเสริมช่องทางตลาด
๓. เสริมสร้างทุนชุมชนให้มีประสิทธิภาพและมีธรรมาภิบาล
๓.๑ พัฒนาระบบการจัดการและการเข้าถึงแหลงทุนชุมชน
๔. เสริมสร้ัางองค์กรให้มีขีดสมรรถนะสูง
๔.๑ เสริมสร้างศักยภาพองค์กรเพื่อยกระดับงานพัฒนาชุมชน
๔.๒ พัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ
๔.๓ ยกระดับภาพลักษณ์องค์กร
๑.๑ สร้างและพัฒนาผู้นำสัมมาชีพ
๑.๒ พัฒนาเครื่องมือเสริมสร้างสัมมาชี่พชุมชน
๑.๓ ส่งเสริมชุมชนและภาคีร่วมพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก
๑.๔ พัฒนาการบริหารจัดการชุมชน
๑.๕ บริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาชุมชน
๒.ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากให้ขยายตัว
๒.๑ เพิ่มศักยภาพผู้ผลิต ผู้ประกอบการ
๒.๒ พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรม
๒.๓ ส่งเสริมช่องทางตลาด
๓. เสริมสร้างทุนชุมชนให้มีประสิทธิภาพและมีธรรมาภิบาล
๓.๑ พัฒนาระบบการจัดการและการเข้าถึงแหลงทุนชุมชน
๔. เสริมสร้ัางองค์กรให้มีขีดสมรรถนะสูง
๔.๑ เสริมสร้างศักยภาพองค์กรเพื่อยกระดับงานพัฒนาชุมชน
๔.๒ พัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพ
๔.๓ ยกระดับภาพลักษณ์องค์กร
การแบ่งงานในความรับผิดชอบของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดชัยภูมิ
ตามกฎกระทรวงการแบ่งส่วนราชการกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. ๒๕๕๒ ซึ่งมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ ๘ เมษายน ๒๕๕๒ ได้กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดไว้ ดังนี้ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนของจังหวัด ดำเนินการประสานงาน เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน ในจังหวัด กำหนด กำกับดูแล ให้คำแนะนำและสนับสนุนการปฏิบัติงานของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ และปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่มงาน ๑ ฝ่าย ดังนี้
๑) กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน
๒) กลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน
๓) กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน
๔) ฝ่ายอำนวยการ
โดยได้กำหนดให้แต่ละกลุ่มงาน/ฝ่าย มีหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้
๑) กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน มีหน้าที่รับผิดชอบเกียวกับ
๑.๑) การศึกษาวิเคราะห์และแปลงนโยบาย ยุทธศาสตร์รัฐบาล กระทรวงมหาดไทย กรมการพัฒนาชุมชนกลุ่มจังหวัดและจังหวัด สู่การปฏิบัติเพื่อให้สามารถกำหนดเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ในการพัฒนาชุมชนของจังหวัด ได้อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล
๑.๒) จัดทำยุทธศาสตร์และกำหนดกรอบแนวทางการพัฒนาชุมชนระดับจังหวัดให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาของจังหวัดและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน
๑.๓) ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำและบริหารแผนงาน โครงการพัฒนาชุมชนของจังหวัด ตลอดจนบริหารจัดการยุทธศาสตร์ จังหวัดในส่วนที่สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดรับผิดชอบตามเกณฑ์ชี้วัดการประเมินผลการปฏิบัติราชการ เพื่อนำไปสู่ การปฏิบัติให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
๑.๔) กำหนดกรอบแนวทางการประสานแผนเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานแก่อำเภอให้สอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์รัฐบาล กระทรวงมหาดไทย กรมการพัฒนาชุมชน กลุ่มจังหวัดและจังหวัด
๑.๕) นิเทศ ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงาน โครงการของจังหวัดและอำเภอ เพื่อให้เป็น ไปตามเป้าหมาย วัตถุประสงค์และบรรลุผลสัมฤทธิ์ที่กำหนดไว้
๑.๖) รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และรายงานผลการดำเนินงาน ความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน ตามนโยบายและแผนงาน โครงการของกรมการพัฒนาชุมชน ตลอดจนประเมินสถานการณ์แวดล้อม เพื่อสะท้อนและนำไปสู่การพัฒนา
๑.๗) ปรับปรุงและพัฒนาระบบงานพัฒนาชุมชนของกรมการพัฒนาชุมชนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
๑.๘) ประสานการดำเนินงานกับหน่วยงาน ภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อบูรณาการยุทธศาสตร์ และแผนการพัฒนาในแต่ละระดับที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
๑.๙) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
๒) กลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ
๒.๑) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบ วิธีการและองค์ความรู้ในการพัฒนาชุมชน ตลอดจนยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนที่เหมาะสม สอดคล้องกับพื้นที่และสอดคล้องกับบริบทแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
๒.๒) สนับสนุน ส่งเสริม ช่วยเหลือให้คำปรุกษาแนะนำในการพัฒนาศักยภาพชุมชน ผู้นำชุมชน กลุ่ม องค์การชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชนในการบริหารจัดการชุมชน การจัดทำยุทธศาสตร์ชุมชน แผนชุมชน
๒.๓) การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน
๒.๔) การพัฒนามาตรฐานการพัฒนาชุมชน
๒.๕) การพัฒนาระบบการจัดการความรู้
๒.๖) การส่งเสริมและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น วิสาหกิจชุมชน เศรษฐกิจชุมชนและอาชีพ
๒.๗) การส่งเสริมและพัฒนาทุนชุมชน องค์กรการเงินชุมชน กองทุนชุมชน ตลอดจนการบริหารจัดการทุนชุมชน ทั้งทางด้านวิชาการ เครื่องมือการทำงานและการปฏิบัติงานแก่อำเภอ หน่วยงาน ภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ชุมชนเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้และมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ
๒.๘) นิเทศ ติดตามการดำเนินงานด้านการส่งเสริมการพัฒนาชุมชนของจังหวัดและอำเภอเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย
๓) กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ
๓.๑) ศึกษา วิเคราะห์และพัฒนารูปแบบ วิธีการจัดทำระบบสารสนเทศชุมชนและเทคโนโลยีสารสนเทศให้เหมาะสมกับพื้นที่และชุมชน
๓.๒) วิเคราะห์ จัดทำ บริหารจัดการและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการพัฒนาชุมชนระดับจังหวัดเพื่อให้จังหวัด หน่วยงาน ภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีข้อมูลที่สามารถใช้ในการกำหนดกรอบแนวทางจัดวางยุทธศาสตร์ และแผนการพัฒนาในส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๓.๓) ประสานการจัดเก็บข้อมูล รวบรวมข้อมูล นิเทศ ติดตามผลการสำรวจข้อมูลเพื่อการพัฒนาชุมชน ข้อมูล จปฐ. กชช.2ค และข้อมูลอื่นๆ รวมทั้งให้บริการข้อมูลและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากข้อมูลสารสนเทศชุมชน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง ทันเวลาและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันในการบูรณาการเป้าหมาย แผนงาน โครงการและบูรณาการ การทำงานให้สอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
๓.๔) จัดทำข้อมูลเพื่อการพัฒนาชุมชนในรูปแบบสารสนเทศชุมชนและส่งเสริมสนับสนุนการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ การพัฒนาระดับหมู่บ้าน (Village Development Report : VDR)
๓.๕) ประสาน สนับสนุน ส่งเสริมให้จังหวัด อำเภอ หน่วยงาน ภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชน นำข้อมูลสารสนเทศชุมชนในส่วนที่เกี่ยวข้องไปใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง
๓.๖) ศึกษา วิเคราะห์ พัฒนาระบบบริหารและระบบบริการข้อมูลสารสนเทศชุมชนเพื่อให้การบริหารงานพัฒนาชุมชนตามภารกิจหลัก ของกรมการพัฒนาชุมชนและการบริหารการพัฒนาในส่วนที่เกี่ยวข้องของจังหวัดเป็นไปอย่างถูกต้องสอดคล้อง กับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
๔) ฝ่ายอำนวยการ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ
๔.๑) การบริหารจัดการงานทั่วไป
๔.๒) งานสารบรรณ งานพัสดุ งานอาคารสถานที่และยานพาหนะ งานการเงินและบัญชี
๔.๓) จัดทำและประสานแผนบริหารงบประมาณ แผนบริหารทรัพยากรบุคคลและแผนการจัดการปัจจัยหรือทรัพยากร ทางการบริหารทุกด้านเพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับนโยบาย ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์การดำเนินงานพัฒนาชุมชนของจังหวัด
๔.๔) วางแผนและบริหารจัดการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามงวดระยะเวลาที่รัฐบาลกำหนด
๔.๕) แสวงหาความร่วมมือและปัจจัยในการทำงานทุกรูปแบบจากทั้งภายในและภายนอกเพื่อให้มีงบประมาณ ปัจจัย ทรัพยากร สนับสนุนและเอื้ออำนวยต่อการทำงานของพัฒนาการจังหวัด ฝ่ายและกลุ่มงานได้ตลอดเวลา ให้สามารถขับเคลื่อนงาน ตามนโยบายยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชนและที่กรมได้รับมอบหมายได้อย่างคล่องตัว มีประสิทธิภาพประสิทธิผล
๔.๖) อำนวยในการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อการบริหารผลการปฏิบัติงานและเสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงาน และให้มีกำหนดคนทดแทนได้อย่างคล่องตัวและเหมาะสมกับปริมาณงานของแต่ละกลุ่มงาน และฝ่ายในแต่ละโครงการ กิจกรรม โดยเฉพาะการทำงานร่วมกันเป็นทีมข้ามกลุ่มงานและฝ่ายในแนวราบ (Cross Function)
๔.๗) ประชาสัมพันธ์เผยแพร่งานพัฒนาชุมชนเพื่อสื่อสารภาพลักษณ์และเผยแพร่ข่าวสารของกรมการพัฒนาชุมชน และเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างหน่วยงาน ภาคีการพัฒนาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง
๔.๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
๑) กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน
๒) กลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน
๓) กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน
๔) ฝ่ายอำนวยการ
โดยได้กำหนดให้แต่ละกลุ่มงาน/ฝ่าย มีหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้
๑) กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน มีหน้าที่รับผิดชอบเกียวกับ
๑.๑) การศึกษาวิเคราะห์และแปลงนโยบาย ยุทธศาสตร์รัฐบาล กระทรวงมหาดไทย กรมการพัฒนาชุมชนกลุ่มจังหวัดและจังหวัด สู่การปฏิบัติเพื่อให้สามารถกำหนดเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ในการพัฒนาชุมชนของจังหวัด ได้อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล
๑.๒) จัดทำยุทธศาสตร์และกำหนดกรอบแนวทางการพัฒนาชุมชนระดับจังหวัดให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาของจังหวัดและสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน
๑.๓) ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำและบริหารแผนงาน โครงการพัฒนาชุมชนของจังหวัด ตลอดจนบริหารจัดการยุทธศาสตร์ จังหวัดในส่วนที่สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดรับผิดชอบตามเกณฑ์ชี้วัดการประเมินผลการปฏิบัติราชการ เพื่อนำไปสู่ การปฏิบัติให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
๑.๔) กำหนดกรอบแนวทางการประสานแผนเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานแก่อำเภอให้สอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์รัฐบาล กระทรวงมหาดไทย กรมการพัฒนาชุมชน กลุ่มจังหวัดและจังหวัด
๑.๕) นิเทศ ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงาน โครงการของจังหวัดและอำเภอ เพื่อให้เป็น ไปตามเป้าหมาย วัตถุประสงค์และบรรลุผลสัมฤทธิ์ที่กำหนดไว้
๑.๖) รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์และรายงานผลการดำเนินงาน ความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน ตามนโยบายและแผนงาน โครงการของกรมการพัฒนาชุมชน ตลอดจนประเมินสถานการณ์แวดล้อม เพื่อสะท้อนและนำไปสู่การพัฒนา
๑.๗) ปรับปรุงและพัฒนาระบบงานพัฒนาชุมชนของกรมการพัฒนาชุมชนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
๑.๘) ประสานการดำเนินงานกับหน่วยงาน ภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อบูรณาการยุทธศาสตร์ และแผนการพัฒนาในแต่ละระดับที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
๑.๙) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
๒) กลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ
๒.๑) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบ วิธีการและองค์ความรู้ในการพัฒนาชุมชน ตลอดจนยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนที่เหมาะสม สอดคล้องกับพื้นที่และสอดคล้องกับบริบทแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
๒.๒) สนับสนุน ส่งเสริม ช่วยเหลือให้คำปรุกษาแนะนำในการพัฒนาศักยภาพชุมชน ผู้นำชุมชน กลุ่ม องค์การชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชนในการบริหารจัดการชุมชน การจัดทำยุทธศาสตร์ชุมชน แผนชุมชน
๒.๓) การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน
๒.๔) การพัฒนามาตรฐานการพัฒนาชุมชน
๒.๕) การพัฒนาระบบการจัดการความรู้
๒.๖) การส่งเสริมและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น วิสาหกิจชุมชน เศรษฐกิจชุมชนและอาชีพ
๒.๗) การส่งเสริมและพัฒนาทุนชุมชน องค์กรการเงินชุมชน กองทุนชุมชน ตลอดจนการบริหารจัดการทุนชุมชน ทั้งทางด้านวิชาการ เครื่องมือการทำงานและการปฏิบัติงานแก่อำเภอ หน่วยงาน ภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ชุมชนเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้และมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับ
๒.๘) นิเทศ ติดตามการดำเนินงานด้านการส่งเสริมการพัฒนาชุมชนของจังหวัดและอำเภอเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมาย
๓) กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ
๓.๑) ศึกษา วิเคราะห์และพัฒนารูปแบบ วิธีการจัดทำระบบสารสนเทศชุมชนและเทคโนโลยีสารสนเทศให้เหมาะสมกับพื้นที่และชุมชน
๓.๒) วิเคราะห์ จัดทำ บริหารจัดการและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการพัฒนาชุมชนระดับจังหวัดเพื่อให้จังหวัด หน่วยงาน ภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีข้อมูลที่สามารถใช้ในการกำหนดกรอบแนวทางจัดวางยุทธศาสตร์ และแผนการพัฒนาในส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๓.๓) ประสานการจัดเก็บข้อมูล รวบรวมข้อมูล นิเทศ ติดตามผลการสำรวจข้อมูลเพื่อการพัฒนาชุมชน ข้อมูล จปฐ. กชช.2ค และข้อมูลอื่นๆ รวมทั้งให้บริการข้อมูลและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากข้อมูลสารสนเทศชุมชน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้อง ทันเวลาและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันในการบูรณาการเป้าหมาย แผนงาน โครงการและบูรณาการ การทำงานให้สอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
๓.๔) จัดทำข้อมูลเพื่อการพัฒนาชุมชนในรูปแบบสารสนเทศชุมชนและส่งเสริมสนับสนุนการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ การพัฒนาระดับหมู่บ้าน (Village Development Report : VDR)
๓.๕) ประสาน สนับสนุน ส่งเสริมให้จังหวัด อำเภอ หน่วยงาน ภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชน นำข้อมูลสารสนเทศชุมชนในส่วนที่เกี่ยวข้องไปใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง
๓.๖) ศึกษา วิเคราะห์ พัฒนาระบบบริหารและระบบบริการข้อมูลสารสนเทศชุมชนเพื่อให้การบริหารงานพัฒนาชุมชนตามภารกิจหลัก ของกรมการพัฒนาชุมชนและการบริหารการพัฒนาในส่วนที่เกี่ยวข้องของจังหวัดเป็นไปอย่างถูกต้องสอดคล้อง กับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
๔) ฝ่ายอำนวยการ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับ
๔.๑) การบริหารจัดการงานทั่วไป
๔.๒) งานสารบรรณ งานพัสดุ งานอาคารสถานที่และยานพาหนะ งานการเงินและบัญชี
๔.๓) จัดทำและประสานแผนบริหารงบประมาณ แผนบริหารทรัพยากรบุคคลและแผนการจัดการปัจจัยหรือทรัพยากร ทางการบริหารทุกด้านเพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับนโยบาย ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์การดำเนินงานพัฒนาชุมชนของจังหวัด
๔.๔) วางแผนและบริหารจัดการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามงวดระยะเวลาที่รัฐบาลกำหนด
๔.๕) แสวงหาความร่วมมือและปัจจัยในการทำงานทุกรูปแบบจากทั้งภายในและภายนอกเพื่อให้มีงบประมาณ ปัจจัย ทรัพยากร สนับสนุนและเอื้ออำนวยต่อการทำงานของพัฒนาการจังหวัด ฝ่ายและกลุ่มงานได้ตลอดเวลา ให้สามารถขับเคลื่อนงาน ตามนโยบายยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชนและที่กรมได้รับมอบหมายได้อย่างคล่องตัว มีประสิทธิภาพประสิทธิผล
๔.๖) อำนวยในการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อการบริหารผลการปฏิบัติงานและเสริมสร้างแรงจูงใจในการทำงาน และให้มีกำหนดคนทดแทนได้อย่างคล่องตัวและเหมาะสมกับปริมาณงานของแต่ละกลุ่มงาน และฝ่ายในแต่ละโครงการ กิจกรรม โดยเฉพาะการทำงานร่วมกันเป็นทีมข้ามกลุ่มงานและฝ่ายในแนวราบ (Cross Function)
๔.๗) ประชาสัมพันธ์เผยแพร่งานพัฒนาชุมชนเพื่อสื่อสารภาพลักษณ์และเผยแพร่ข่าวสารของกรมการพัฒนาชุมชน และเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างหน่วยงาน ภาคีการพัฒนาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง
๔.๘) ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย
(Visited 2 times, 1 visits today)